วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

(Drug use)...การใช้ยา

บทนำ

ยา (drug, medicines, medication, medicament, pharmaceutical drug) เป็นสิ่งที่มีทั้งคุณ และโทษ การกินยา หรือ ใช้ยา ผู้ใช้จึงควรมีความรู้ หรือ ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยา ซึ่งข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดที่ประชาชนควรรู้ และนำไปประยุกต์กับชีวิตประจำวันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยา คือ
  1. ดูวันหมดอายุของยา
  2. อ่านฉลากยา
  3. กินยาให้ถูกต้องตามฉลากยา
  4. กินยาให้ถูกวิธี
  5. ล้างมือ ก่อน และหลังกินยา
  6. กินยาให้หมดตามที่แพทย์ พยาบาล เภสัชกรแนะนำ
  7. เก็บยาให้ถูกวิธี
  8. หยิบยาในที่มีแสงสว่างพอเพียง
  9. ไม่กินยาหรือใช้ยาของผู้อื่น
  10. สังเกตอาการผิดปกติหลังกินยา
  11. ทิ้งยาที่ไม่ใช้แล้ว หรือที่หมดอายุ

 

วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2556

การใช้ความรุนแรงในครอบครัวและสังคม(Violence in the family and society.)

ความรุนแรงในครอบครัว 


 ความรุนแรงในครอบครัว



การที่เด็กถูกทารุณกรรมน่าจะเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงความบกพร่องของสถาบัน ครอบครัว และสังคมไทยแม้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนจะยื่นมือเข้าช่วย แต่ก็พบว่าการช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งนี้เพราะสังคมไทยมีแนวคิดว่าเด็กเป็นสมบัติของพ่อแม่ และถือว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวบุคคล ภายนอกไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว สาเหตุของการทารุณกรรม
สาเหตุของการทารุณกรรมเท่าที่สังเกตจากผู้ถูกกระทำมารับบริการในโรง พยาบาลพบว่า การทำทารุณกรรมเด็กเกิดจากปัจจัยทั้งที่เกี่ยวกับบิดามารดา และภูมิหลัง ความตึงเครียดจากสิ่งแวดล้อม และลักษณะของเด็ก บิดามารดาที่ทารุณกรรมบุตรมักรู้สึกไม่พึงพอใจในบทบาทพ่อแม่ ยิ่งเคยถูกทารุณกรรมมาก่อนก็ยิ่งเสี่ยงต่อการทารุณกรรมบุตร บิดามารดาอายุน้อยโดดเดี่ยวว่างงาน รายได้ไม่เพียงพอ ประกอบกับเด็กอาจสร้างปัญหาให้เป็นที่รำคาญอาจเนื่องจากพฤติกรรมซุกซน ก้าวร้าว เกเร พิการ เจ็บป่วยเรื้อรัง เป็นต้น จะเห็นได้ว่าสาเหตุของการทำทารุณกรรมเด็กมีหลายประการแต่พอจำแนกได้ดังนี้

 
  1.  บุคลิกภาพของผู้ปกครองเนื่องจากเคยถูกทารุณมาก่อน หรือฤทธิ์ของสารเสพติด หรือการเจ็บป่วยทางจิต
  2. ปัญหาจากเด็ก เช่น เด็กซุกซนอยู่ไม่นิ่ง เด็กพิการ เด็กขี้โรค พัฒนาการล่าช้า เป็นลูกติดสามี หรือภรรยา
  3. การขาดที่พึ่ง หมายถึงบิดามารดา หรือคนเลี้ยงรู้สึกถูกทอดทิ้งจากญาติ ขาดเพื่อนที่จะคอยให้ความช่วยเหลือ
  4. สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมและสภาพทางเศรษฐกิจ รวมทั้งภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นมักพบว่าการกระทำทารุณเด็กมีความเกี่ยวข้องกับ ความยากจนพ่อแม่ที่กระทำทารุณเด็ก มักจะอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ใช้ความรุนแรงในชีวิต ประจำวัน และอยู่ในระบบของชุมชนที่มีการช่วยเหลือทางสังคมต่ำ
  5. สาเหตุจากการจัดการศึกษาที่ไม่เหมาะสมในระบบการศึกษาวัยก่อนเรียน สาเหตุนี้มักก่อให้เกิดปัญหาการกระทำทารุณ โดยเฉพาะการกระทำทารุณทางอารมณ์ (Emotion Abuse) เพราะมีการเร่งรัด ผลักดันให้เด็กเรียนอย่างไม่เหมาะสมกับวัย







สาเหตุของการทารุณกรรมเด็กคงมิใช่เนื่องมาจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง
หากแต่เชื่อว่าจะต้องมีหลายสาเหตุประกอบกัน ที่ก่อให้เกิดการทารุณกรรมในเด็กจากที่กล่าวข้างต้น เด็กที่ถูกทารุณกรรมในสังคมไทยที่ปรากฏเป็นเพียงจำนวนบางส่วนเท่านั้น เชื่อว่ายังมีเด็กที่ถูกทารุณกรรมอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่มีการรายงาน ที่สำคัญพบว่าการทารุณกรรมเด็กในสังคมไทยได้กลายเป็นปัญหาสังคมที่มีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นทุกขณะ ตามสภาพสังคมปัจจุบันที่มุ่งเน้นพัฒนาความเติบโตทางเศรษฐกิจมากจนเกินไปจึง ก่อให้เกิดความแตกต่างทั้งทางด้านฐานะและรายได้ของคนในสังคม โดยมิได้มีการพัฒนาด้านสังคม และด้านจิตใจควบคู่กันไปด้วย ย่อมส่งผลให้สภาพจิตใจและสภาพแวดล้อมทางสังคมเสื่อมลง ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมานับตั้งแต่ปัญหาครอบครัวแตกแยก การหย่าร้าง การทะเลาะวิวาท ซึ่งส่งผลกระทบต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัวและการที่เด็กถูกทารุณกรรมน่าจะเป็น สัญญาณที่บ่งบอกถึงความบกพร่องของสถาบันครอบครัว และสังคมไทย แม้ว่าภาครัฐและภาคเอกชนจะพยายามยื่นมือเข้าช่วยเหลือเด็กเหล่านี้ แต่ก็พบว่าการช่วยเหลือเป็นไปด้วยความยากลำบาก ทั้งนี้เพราะสังคมไทยมีแนวคิดว่าเด็กเป็นสมบัติของพ่อแม่ และถือว่าเป็นเรื่องภายในครอบครัวบุคคล ภายนอกไม่ควรเข้าไปยุ่งเกี่ยว
ในปัจจุบันได้มีนักจิตวิทยา นักสังคมสงเคราะห์ จิตแพทย์ ครู และผู้มีอาชีพด้านเด็กโต้แย้งคัดค้านการลงโทษเด็กด้วยการทำร้ายร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระทำด้วยอารมณ์โกรธแค้น และไม่สมกับเหตุผล เพราะว่าจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวเด็กใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ที่มักทำให้เกิดบาดแผลกับอวัยวะภายนอกและภายในอย่างชัดเจน บางรายมีอาการบาดเจ็บรุนรางส่งผลให้พัฒนาการของเด็กชะงักงันได้ ด้านจิตใจและอารมณ์ เด็กมักมีอารมณ์ซึมเศร้า เก็บกด หรือมีการต่อต้านอย่างรุนแรงต่อคำสั่งของผู้ใหญ่ ตลอดจนมีพฤติกรรมที่แสดงปัญหาทางอารมณ์ที่ผิดปกติอื่นๆ ผลกระทบต่อตัวเด็กที่สำคัญอีกด้านหนึ่งคือผลกระทบต่อพฤติกรรมของเด็กในระยะ ยาว การทารุณกรรมจะสะสมให้เด็กเรียนรู้วิธีแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยการใช้ความ รุนแรงและใช้กำลังกายในการตัดสินปัญหา แทนการใช้เหตุผล มีผลให้เด็กกลายเป็นคนต่อต้านสังคม มีความก้าวร้าว และสร้างปัญหาสังคม โดยสรุปแล้วการทารุณกรรมเกิดผลกระทบหลายด้านพร้อมกัน ผลที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ถูกทารุณกรรม ไม่ใช่เพียงด้านสุขภาพและจิตใจ หรืออารมณ์ของเด็กเท่านั้น ด้านครอบครัว สังคม กฎหมาย รวมไปถึงขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม จริยธรรม และศาสนา เป็นสิ่งที่จะได้รับผลกระทบไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนตามมานอกเหนือ จากปัญหาการทารุณกรรมเด็กเอง
ความสำคัญของปัญหาเด็กถูกทารุณกรรมดังกล่าว ถือว่าเป็นปัญหาทางจิตสังคมที่ร้ายแรงมากจำเป็นต้องหาทางช่วยเหลือแก้ไขโดย รีบด่วน มิฉะนั้นจะเกิดผลกระทบต่อตัวเด็กอย่างมาก ทั้งระยะสั้นและระยะยาว พยาบาลเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดกับปัญหาเพราะมีโอกาสพบกับเด็กกลุ่มนี้ก่อน วิชาชีพอื่นๆ พยาบาลจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันและช่วยเหลือเด็กที่ถูกทารุณกรรม ดังนั้นต้องมีความเข้าใจผลที่เกิดขึ้นตามมาทั้งสภาพจิตใจ หรืออารมณ์ของเด็ก ครอบครัว สังคมซึ่งเป็นสิ่งที่จะได้รับผลกระทบ เข้าใจปัญหาและติดตามให้ความช่วยเหลือเพื่อลดความรุนแรงของปัญหานั้น ป้องกันไม่ให้เด็กถูกทารุณกรรมซ้ำ รวมทั้งเยียวยาฟื้นฟูเด็ก ผู้ตกเป็นเหยื่อของการทารุณกรรมดังกล่าวให้สามารถกลับคืนสู่สังคมได้อย่าง ปกติลักษณะการให้การช่วยเหลือเมื่อพบเด็กถูกทารุณกรรม
เมื่อพบเด็กที่ถูกทารุณกรรมจากครอบครัว สิ่งแรกที่ควรกระทำอย่างเร่งด่วนคือ การรักษาบาดแผลความเจ็บป่วย ทางร่างกาย ในรายที่บาดเจ็บรุนแรงจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อช่วยเหลือในการรักษา เช่น ศัลยแพทย์กระดูก แพทย์ทางระบบประสาท จักษุแพทย์ ฯลฯ หากพบว่าพ่อแม่มีแนวโน้มที่จะทำร้ายเด็กจำเป็นที่จะต้องแยกเด็กจากครอบครัว หลังจากที่ได้มีการรักษาอาการความเจ็บป่วยทางกายแล้ว สิ่งสำคัญที่ต้องกระทำควบคู่กันไป คือ การฟื้นฟูสภาพจิตใจที่บอบช้ำของเด็ก จากการที่ถูกคนในครอบครัว ซึ่งอาจเป็นพ่อหรือแม่แท้ ๆ ของเด็กเอง เป็นผู้กระทำทารุณกรรมต่อเด็ก หรือถูกทารุณกรรมจากพ่อเลี้ยงหรือแม่เลี้ยง ควรให้เด็กได้มีการระบายอารมณ์ และความรู้สึกต่าง ๆ ที่มีอยู่ ผู้รักษาควรมีการเสริมสร้างความมั่นใจต่อเด็กว่า เด็กจะไม่ถูกทารุณกรรมจากพ่อแม่อีก นอกจากการช่วยเหลือ โดยกระบวนการรักษา การฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจแล้ว สิ่งที่สำคัญ คือ การติดต่อพูดคุยกับพ่อแม่ ควรมีการประเมินสภาพจิต การประเมินบุคลิกภาพของพ่อแม่ ร่วมกับการซักถามประวัติของครอบครัวและ ชีวิตความเป็นอยู่สภาพที่กดดัน หรือปัญหาต่าง ๆ ที่ครอบครัวประสบอยู่ เพื่อเป็นเครื่องมือประเมิน ในการหาแนวทางการ ช่วยเหลือ ให้ตรงกับปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขรวมถึงการเตรียมความพร้อมของพ่อ แม่ ให้สามารถรับผิดชอบและอบรมเลี้ยงดูเด็กด้วยเหตุผล และเลิกการใช้กำลัง การทารุณกรรมเด็กด้วยวิธีการรุนแรงอีกต่อไป
  
แบบทดสอบจ้า
http://school.obec.go.th/sukkajunghan/ex_m1_10.html  

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2556

การประเมินภาวะสุขภาพและพฤติกรรมเสี่ยงของตนเอง

การประเมินภาวะเสี่ยงทางสุขภาพของกลุ่มเสี่ยง



   WHO (1984) ได้ชี้ถึงความจำเป็นของการประเมินความความเสี่ยงมาใช้สำหรับงานสาธารณสุข ไว้ดังนี้ คือ
          1) ทำให้ทราบปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นในชุมชนและทราบถึงวิธีการเฝ้าระวัง เพื่อไม่ให้เกิดโรคหรือเกิดอันตรายต่อกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว
          2) เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการกำหนดแนวทางป้องกันหรือลดระดับความเสี่ยง
          3) เพื่อใช้ประกอบการจัดสรรทรัพยากร
          4) ใช้ในการวางแผนและเป็นแนวทางในการดำเนิน
การประเมินความเสี่ยง (Risk appraisal)
          การประเมินความเสี่ยง หมายถึง การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรค อันตรายอุบัติเหตุ และปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ ของบุคคล และกลุ่มเสี่ยง ออกมาเป็นข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative approach) โดยใช้แบบประเมินที่วัดภาวะสุขภาพ ดังนี้ (สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
          1. ปริมาณสารเคมีหรือสารอาหารในร่างกาย เช่น ปริมาณน้ำตาลในเลือดระดับคลอเรสเตอรอลในร่างกาย น้ำหนักตัว ความดันโลหิตสูง เป็นต้น
          2. ความรู้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ เช่น ความรู้ของมารดาต่อการเลี้ยงดูบุตร ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติตนของผู้ป่วยเบาหวาน เป็นต้น
          3. ทัศนคติต่อภาวะสุขภาพนั้น ๆ เช่น ความเชื่อเกี่ยวกับการรักษาไสยศาสตร์ หรือสมุนไพร หรือทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์ เป็นต้น
          4. การปฏิบัติตนซึ่งมีผลต่อสุขภาพ เช่น (Health behaviors or practice related to health hazard or health problem) ความเคยชินที่มีผลต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหาร สุก ๆ ดิบ ๆ หรือ การขับรถโดยไม่ตรวจสอบสภาพรถ เป็นต้น
          5. ปัจจัยหรือองค์ประกอบด้านประชากร เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ๆ เช่น การย้ายถิ่น อายุ เพศ อื่น ๆ หรือ สิ่งแวดล้อมที่คิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุของโรคหรืออันตรายนั้น ประวัติการเจ็บป่วยส่วนบุคคลและครอบครัว คนที่มีสมาชิกครอบครัว เป็นเบาหวานมีโอกาสเป็นเบาหวานมากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติ
การประเมินภาวะเสี่ยง
          วิธีการที่จะประเมินความเสี่ยง หรือ การวัดปริมาณการได้รับปัจจัยเสี่ยง ขึ้นอยู่กับองค์ความรู้เกี่ยวกับผลทางด้านชีววิทยาของการได้รับปัจจัยนั้น ความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเกิดโรค โดยปกติความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเสี่ยงกับการเกิดโรคใดๆ มักเป็นความสัมพันธ์ที่ซับซ้อน (Multiple causes and effects) (อัมพร เจริญชัย และเปรื่องจิตร ฆารรัศมี,2544; สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
          แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ที่ใช้เป็นเครื่องมือในการประเมินภาวะเสี่ยงแบบประเมินภาวะเสี่ยง (Health risk profile)ที่ใช้กันบ่อย มี 3 ประเภท ได้แก่ (Goeppinger, 1988)
                    1) Health-hazard appraisal เป็นวิธีการประเมินปัจจัยเสี่ยงของโรคหรือปัญหาสุขภาพ การตาย โดยนำความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติระยะใดของโรค เพื่อค้นหาความต้องการเฉพาะ (Specific need) ของผู้ป่วย
                    2) Lifetime-health-monitoring program (LHMP) เป็นเครื่องมือที่ใช้ประเมินความเสี่ยงของบุคคลที่ยังไม่เจ็บป่วย แต่สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง เช่นมีพฤติกรรมเสี่ยง คือ การสูบบุหรี่ การดื่มเหล้า
                    3) Wellness inventory เป็นเครื่องมือที่ประเมินความเสี่ยงของบุคคลทั่วไป โดยมุ่งเน้นที่จะเสริมสร้างภาวะสุขภาพ โดยเฉพาะการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดโรค เช่น การรับประทานอาหาร การออกกำลังกายและจัดการกับความเครียด แบบประเมินชนิดนี้นิยมใช้กันอย่างหลากหลายมาก การประเมินเน้นการส่งเสริมสุขภาพ
          การวัดความเสี่ยง (Measurement of risk) การแสดงค่าความเสี่ยงโดยการเปรียบเทียบอุบัติการณ์(Incidence) ของโรคระหว่างสองกลุ่มหรือมากกว่า ว่ามีความแตกต่างของการได้รับสิ่งที่สงสัยว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงหรือไม่ โดยพิจารณาจาก
                    1) ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น (Attributable risk) โดยพิจารณาว่า ความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด ด้วยการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับปัจจัยกับกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัย การคิดความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น โดยการใช้ค่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ได้รับปัจจัย ลบด้วย ค่าอุบัติการณ์ของโรคในกลุ่มที่ไม่ได้รับปัจจัย ซึ่งอุบัติการณ์ในกลุ่มผู้ที่ไม่มีปัจจัย ถือว่าเป็นผลจากปัจจัยอื่น
                    2) ความเสี่ยงสัมพัทธ์ (Relative risk) เพื่อดูว่า ผู้ที่ได้รับปัจจัยเสี่ยงมีโอกาสเกิดโรคเป็นกี่เท่าของผู้ที่ไม่ได้รับ ปัจจัย โดยการคำนวณค่า relative risk หรือ risk ratio ค่านี้ใช้บอกระดับความสัมพันธ์ (Strength of association) ระหว่างการได้รับปัจจัยกับการเกิดโรค
          การประเมินภาวะเสี่ยงของชุมชน การประเมินภาวะเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพของชุมชนทำได้หลายระดับ ตั้งแต่ระยะที่บุคคลหรือกลุ่มในชุมชนสัมผัสกับปัจจัยเสี่ยง ไปจนถึงเกิดโรคแล้วและเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน ความพิการหรือการเสียชีวิต ข้อมูลที่จำเป็นต่อการประเมินความเสี่ยงของชุมชนแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้( สมจิต แดนสีแก้ว,2545)
                    1) การรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาทางวิทยาการระบาด ได้แก่ การสำรวจภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนในชุมชนโดยใช้เครื่องมือประเมินภาวะ เสี่ยงในระดับบุคคล (Health - risk appraisal)
                    2) สถิติการเจ็บป่วยและการตายด้วยสาเหตุต่าง ๆ (Morbidity and mortalityrates) ปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ทั้งที่ผ่านการพิสูจน์จากการวิจัย
                    3) การศึกษาวิทยาการระบาดเชิงพรรณนา (Descriptive study) ที่แสดงแบบแผนการเกิดโรคตามลักษณะของบุคคล เวลาและสถานที่ ข้อมูลการเจ็บป่วยและการตายสามารถช่วยระบุปัญหา (Identify Problem) กำหนดกลุ่มเป้าหมาย (Identify group) หลังจากนั้นให้ประเมินความเสี่ยงระดับบุคคลที่เป็นสมาชิกของกลุ่มจะเป็นภาพ ของความเสี่ยงของทั้งกลุ่ม ซึ่งเป็นประชากรกลุ่มย่อย (Subpopulation) ของชุมชน




ข้อสอบให้ลองทำนะครับ 

http://www.kruaung.com/index.php?mo=3&art=12098



ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.elearning.msu.ac.th/opencourse/0404407/unit04_4_3.html#top

http://www.kruaung.com/index.php?mo=3&art=12098

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...